https://issuu.com/piyaporn.lah/docs/___________
Monday, April 30, 2018
Wednesday, April 4, 2018
สรุปการอบรมสัมมนาความรู้เรื่องFOLDING CARTONS
Folding cantong (กล่องกระดาษแข็ง) ที่สามารถพับได้,ราคาถูก
Set-UpBoxes (กล่องกระดาษแบบคงรูป) ดูหรูกว่า แข็งแรงกว่า เสร๊จแล้วเสร๊จเลยในรูปแบบนี้
Box Glued กล่องแบบติดกาว แต่ยังสามารถพับได้อยู่
หลักสากลในการพูด ยาวxกว้างxสูง
BLANK แผ่นคลี่ของกระดาษที่ยังไม่ติดกาว ถ้าติดกาวแล้วจะไม่เรียกว่า BLANK
GLUE FLAP แถบกาว
ตรงลูกศรคือ BLEED เผื่อสี เผื่อขอบ เผื่อตัด ตัดตก
GRAIN คือลักษณะการเรียงตัวของเส้นใยกระดาษ
ถ้า 31x25นิ้ว ถ้าทำในชุมชน
การใช้กระดาษให้เหมาะสม การเลือก Basis Weight และคุณภาพของกระดาษแข็งเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์
การเลือกน้ำหนักและคุณภาพของกระดาษแข็งเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์
รูปทรงของกล่องกระดาษแข็ง
กล่องรูปท่อ (TUBES)
กล่องรูปถาด (TRAYS)
บรรจุภัณฑ์รวมหน่วย (MULTIPLE PACKAGING)
บรรจุภัณฑ์รูปแบบพิเศษ (SPECIALITY PACKAGING)
บรรจุภัณฑ์รูปแบบพิเศษ (SPECIALITY PACKAGING)
straight tuck
standard straight tuck ฝาบนล่างต่อเนื่องกับแผ่นผนังด้านบนของกล่องและปิดลงไปหาผนังด้านหลัง
เหตุผลการเลือกใช้กล่องรูปแบบ straight tuck
1 กรณีต้องการบรรจุสินค้าที่มีการเปิดปิดกล่องซ้ำ
2 กรณีต้องการความสะดวกในการเลื่อนนำสินค้าออกจากกล่อง นิยมใช้กับสินค้าที่เป็นแท่ง เช่น
แท่งลิปติก แท่งช้อกโกแลต
3 ต้องการการต่อเนื่องของลวดลายบนผนังด้านหน้าหรือหลังกับส่วนฝาบนหรือล่างกลมกลืน ไม่มีการสะดุดชะงักเพราะขาดตอน
4 ต้องการภาพลักษณ์ของการประณีตมีราคาจึงนิยมใช้กัน
เลือกใช้straight tuck standard เช่นเมื่อต้องการ การเปิดกว้างของช่องใส ความประณีตของกล่อง ลวดลายหรือสีต่อเนื่องที่หัวและท้ายกล่อง
เลือกใช้ mailer lock เพื่อความแน่นหนาขึ้น
เลือกใช้ SEAL END เมื่อต้องการประหยัดวัสดุกระดาษที่แผ่นหัวท้ายของกล่อง
และต้องการปิดกล่องสนิทและต้องการให้เห็นร่องรอยการเปิดอย่างชัดเจน
Friday, March 30, 2018
สรุปงาน gift on the moon
รายงาน
เรื่อง GIFT ON THE MOON
เรื่อง GIFT ON THE MOON
(กลุ่มที่
5
Stencil) ผ้าโพกหัว
จัดทำโดย
น.ส.ปิยะพร
ปรักเจริญ
5911303237
ออกแบบนิเทศศิลป์
เสนอ
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์
ประชิด ทิณบุตร
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
การออกแบบตัวอักษร (ARTD2303)
ภาคเรียนที่
2
ปีการศึกษา 2560
คณะ
มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขา
ศิลปกรรม(ออกแบบนิเทศศิลป์)
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คำนำ
เนื่องมาจากในงาน gift on
the moon จะมีการจัดงานแสดงของสาขาศิลปกรรมโดยในวิชาการออกแบบตัวอักษรนี้ได้จัดทำชุดตัวอักษรเป็นประโยคขึ้นมาและทำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อที่จะจัดจำหน่ายภายในงาน
gift on the moon ซึ่งข้าพเจ้าได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์เป็นผ้าโพกหัว
โดยใช้วิธีการแบบ stencil ปาดสีลงบนผ้าโพกหัว
โดยใช้เป็นคำว่า “จันทรเกษม”
น.ส.ปิยะพร
ปรักเจริญ
5911303237
ออกแบบนิเทศศิลป์
STENCIL (ลายฉลุ)
stencil ถ้าแปลความหมายนั้นคือ ลายฉลุคือการออกแบบลวดลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือตัวอักษรลงไปบนแผ่นกระดาษพลาสติก,แผ่นกระดาษแข็งหรืออุปกรณ์อื่นๆในรูปแบบของกราฟฟิตี้อาจใช้ปากกาหมึกสีดำวาดลวดลายขึ้นมาเองหรือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบวาดขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นลงมือตัดกระดาษตามลวดลายที่เราออกแบบไว้ แล้วนำไปฉีดสเปรย์ หรือทาสีทับตามลายที่ฉลุที่เราตัดไว้ทำให้เกิดลวดลายนั้นๆ ข้อดีของ stencil อย่างหนึ่งคือลายฉลุที่เราออกแบบและตัดเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกด้วย อีกทั้งลวดลายของ stencil นั้นออกแบบได้ง่ายมาก ตัวแบบเองก็ยังสามารถหาดูได้ในอินเทอร์เน็ต stencil Art ได้รับความนิยมอย่างมากในงานประเภทของ street art หรือ graffiti ที่เราพบเห็นได้บ่อยตามกำแพงพื้นที่สาธารณะทั่วไป ซึ่งเหล่าศิลปินจะใช้วิธีการพ่นสีสเปรย์ทำให้เกิดลวดลายขึ้นมา
STENCIL (กลุ่มที่
5 ) ผ้าโพกหัว
ในวิชาการออกแบบตัวอักษรนี้ได้จัดทำชุดตัวอักษรเป็นประโยคขึ้นมาและทำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อที่จะจัดจำหน่ายภายในงาน
gift on the moon
ในส่วนของการทำงานเรื่มต้นจากการหาแรงบันดาลใจและต้นแบบทางความคิดเพื่อนำมาออกแบบและนำมาพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ลักษณะแนวทางในการออกแบบคือจะใช้ตัวอักษรที่เป็นในรูปแบบไม่มีเชิง
โดยดัดแปลงจากรูปทรงเหลี่ยมให้มีลักษณะสอดคล้องกันแล้วหลังจากทำตัวอักษรเสร็จแล้ว
จึงนำมาออกแบบให้เป็นโลโก้แล้วจึงนำมาเพ้น โดยวิธีการทำนั้นจะทำโดยวิธีการทำ STENCIL
คือการทำลวดลายผ่านกระดาษหรือไม้โดยการฉลุให้เป็นบล็อคตามแบบขึ้นมา
ในทำแบบตัวอักษรครั้งนี้ได้ยกคำว่า จันทรเกษม มาทำเพราะว่าในงาน
GIFE
ON THE MOON
นี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยการออกแบบตัวอักษรให้มีขนาดสูง
5 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว ที่เลือกเป็นผ้าโพกหัวเพราะว่าให้ทันกับยุคสมัยในช่วงนี้ที่กำลังฮิตและเหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย
สามารถนำมาโพกหัว พันคอ ได้หลายรูปแบบ ในการทำแบบนั้นเริ่มจากการนำแบบที่เราได้ทำการskethไว้มาทำบนโปรแกรม AI หรือ Illustrator เพื่อที่จะนำแบบตัวอักษรอันนี้มาปริ้นลงบนกระดาษฟิลม์ใสและขั้นตอนต่อไปก็นำแบบที่ปริ้นลงบนกระดาษฟิมล์ใสมาทำการตัดช่องที่ต้องการจะลงสีหลังจากการตัดเสร็จก็ลงสีตามแบบที่กำหนดไว้
หลังจากนั้นรอสีที่ทำการเพ้นต์ให้แห้งและแกะแผ่นฟิมฟ์ใส่อย่างระมัดระวังเพื่อที่ในแบบจะได้ไม่มีการชำรุด
โดยสีที่ใช้จะใช้เป็นสีสกรีน เพราะสีสกรีนซักแล้วจะไม่หลุด
แบบสเก็ต
แบบที่ทำในAI
แบบที่ทำออกแบบมาเป็นโลโก้
วิธีการทำ Stencil
1.ร่างแบบตัวอักษรที่จะต้องทำแบบstencil
2.พอได้แบบเสร็จเรียนร้อยให้นำแบบไปทำในโปรแกรม illustrator
3.พอทำแบบในโปรแกรม illustrator ให้นำไฟล์นี้ปริ้นออกมากับกระดาษฟิมล์ใส
และทำการตัดตามรอยที่เราจะต้องการลงสี
4.ทำการลงสีโดยใช้สีที่มีคุณสมบัติที่สามารถเพ้นต์ลงบนผ้าได้
5.พอเพ้นต์สีเสร็จแล้วให้รอสีให้แห้งแล้วตอนแกะแผ่นใสที่เป็นแม่แบบนั้นให้ระมัดระวังถ้าดึงแรงไปบางทีอาจจะทำให้สีนั้นลอกออกมาหรืออาจจะทำให้แผ่นฟิล์ใสหลุดขึ้นมาด้วย
และควรระวังแม่แบบให้ทีเพราะบางทีแบบที่ทำเล็กไปอาจจะหลุดขาดได้ง่ายๆ
แบบสำเร็จที่ขึ้นมามีอยู่ 2 ลายด้วยกัน เพื่อความหลากหลายในการซื้อ และนอกจากลายที่ทำมาให้ลูกค้าในงาน
gift on the moon เลือก 2แบบแล้ว
ยังมีลายผ้าโพกหัวที่กำลังฮิคฃตอยู่ในตอนนี้ด้วย มีหลายลายให้เลือกอีกด้วย
แบบเสนอผลงานในแบบมูดบอร์ด MOOD
BOARD
โดยในการทำมูดบอร์ดนั้นต้องมี 3 ปัจจัยหลักเลยคือ
ส.1.สืบค้น ข้อมูลของเรื่องที่เราจะทำ
Stencil ถ้าแปลความหมายนั้นคือ ลายฉลุ
คือการออกแบบลวดลายไม่ว่าจะเป้นรูปภาพ หรือตัวอักษรลงไปบนแผ่นกระดาษพลาสติก,แผ่นกระดาษแข็ง หรืออุปกรณ์อื่นๆในรูปแบบของกราฟฟิตี้
อาจใช้ปากกาหมึกสีดำวาดลวดลายขึ้นมาเองหรือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบวาดขึ้นมา
แล้วหลังจากนั้นลงมือตัดกระดาษตามลวดลายที่เราออกแบบไว้
แล้วนำไปวาดโดยการฉีดสเปรย์
หรือทาสีทับลงไปตามลายฉลุที่เราตัดไว้แล้วทำให้เกิดเป้นรูปลายนั้นๆ ข้อดีของ stencil
อย่างนึงคือ ลายฉลุที่เราออกแบบและตัดเรียบร้อยแล้วนั้น
สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย อีกทั้งลวดลายของ stencil นั้นออกแบบได้ง่ายมาก
ส.2 สมมติฐาน
ได้แนวคิดมาจากประตูจันทรเกษมที่มีรูปทรงเป็นเหลี่ยม
ๆ จึงอยากให้ฟอนต์ออกมาเป็นเหลี่ยมๆ
ออกแนวเป็นแบบสากลและไทยผสมผสานกันดูให้เข้ากับมหาลัยมากขึ้น
ทำออกแบบให้ดูไม่โบราณจนเกินไป อยากให้นักศึกษา หรือคนที่เข้ามาชมงาน gift on the moon ชื่นชอบด้วย
ส.3 สรุป ผลงานที่เราจะทำ
ในรายวิชาออกแบบตัวอักษรเพื่องานพิมพ์
ได้มีการออกแบบตัวอักษรเพื่อจำหน่ายในงาน gift on the moon โดยได้ทำการออกแบบตัวอักษรที่เป้นคำว่า
“จันทรเกษม” เพื่อนที่สินค้าจะได้เข้าถึงกับนักศึกษาและบุคคลต่างๆภายในมหาวิทยาลัยมากขึ้นอีกด้วย
โดยการนำแบบอักษรมาเพ้นต์ลงบนผ้าโพกหัวด้วยวิธีการ stencil หรือ
ลายฉลุ ที่เลือผลิตภัณฑ์เป็นผ้าโพกหัวเพราะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าร้อน
สามารถใส่บังแดดได้ รวมถึงตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น อีกด้วย
จะโพกหัวได้แล้วก็ยังนำมาทำเป็นผ้าพันคอ หรือ mix and match กับอะไรก็ได้อีกด้วย
รายรับ-รายจ่ายในการทำสินค้างาน gift on the moon
ผ้าโพกหัว ราคาทุนต่อชิ้น 10 บาท โดยมีผ้าโพกหัวจำนวน 25 ใบ
นำมาจำหน่ายในราคาต่อชิ้น 29 บาท
ซึ่งรวมทั้ง ค่าสี ค่าทำแผ่นฉลุ
และค่ารถไปซื้อผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจำหน่าย
(สี,และอุปกรณ์อื่นๆมีอยู่แล้ว)
โดยได้กำไรทั้งหมด 19 บาท
สรุปการขาย
วันที่ 1 (ภาพบางส่วน)
ขายได้ทั้งหมด
11 ชิ้น (29x11=319บาท)
วันที่ 2 (ภาพบางส่วน)
ขายได้ทั้งหมด(8x29=บาท)
วันที่ 3 (ภาพบางส่วน)
ขายได้ทั้งหมด (3x29=87บาท)
Subscribe to:
Posts (Atom)